ต่อเนื่องจากบทความก่อนหน้านี้ ที่แนะนำแพลตฟอร์ม Power BI ที่ใช้ในการจัดการข้อมูล วันนี้เราได้สรุปวิธีการใช้เบื้องต้นของแพลตฟอร์มดังกล่าวมาให้รับชมกัน แต่เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่าการเรียนการจัดการข้อมูลเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับบางคน และยิ่งในสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้เกือบทุกคนต้องทำงานอยู่ในเคหสถานของตัวเอง
เราเลยได้สรุปวิธีการใช้เบื้องต้นของ Power BI มาให้ 7 ขั้นตอน พร้อมทั้งมีการ เปรียบเทียบขั้นตอนการจัดการข้อมูลบนแพลตฟอร์ม Power BI กับขั้นตอนการทำอาหารเพื่อให้ผู้ใช้ใหม่สามารถเข้าใจและเข้าถึงการทำงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
1.การหาข้อมูลดิบ (EXTRACT : RAW MATERIAL)
หากเราต้องการทำกะเพราสักจาน เราคงอยากได้วัตถุดิบที่ดีที่สุดมาอยู่บนจานของเรา เช่นเดียวกับ Power BI ข้อมูลที่เราจะนำมาใช้นั้นต้องคำยังถึงความถูกต้องรวมถึงความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา
2.การปรับปรุงข้อมูลดิบให้พร้อมใช้ (TRANSFORM : CUT%SHAPE)
หลังจากการจัดหาวัตถุดิบในจานกะเพราของเราแล้ว เราคงจะไม่ใส่ทั้งหมดที่ได้ลงในกระทะหรอกจริงไหม เพราะไม่อย่างนั้นในจานของคงเต็มไปด้วย พริกที่มีก้าน หรือกะเพราที่มาทั้งต้น ถ้าไม่อยากให้เป็นดังที่กล่าวมาเราก็คงต้องจัดการทำให้ส่วนประกอบของกะเพราของเรานั้นเป็นสัดเป็นส่วนสักก่อน
เช่นเดียวกับ Power BI ถ้า Dataset ที่นำเข้ามีจำนวนคอลัมน์หรือแถวมากเกินไป ก็จำเป็นที่จะต้องจัดการให้เป็นสัดเป็นส่วนหรือตัดส่วนที่ไม่จำเป็นต่อการวิเคราะห์ออก ให้ไฟล์มีขนาดที่เล็กลงเพื่อประโยชน์ในการโหลดและอัพเดพในครั้งถัดไป หรือหากข้อมูลจากไฟล์มีฟอร์แมตที่ต่างกัน ก็ต้องปรับให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน เรียกขั้นตอนนี้ว่า "Transfrom Data" เพื่อปรับปรุงให้ข้อมูลดิบเป็นข้อมูลที่คุณภาพและเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้งานต่อไป
3.การนำข้อมูลไปใช้ (LOAD : MATERIAL)
หลังจากได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพแล้ว เราก็พร้อมที่จะทำกะเพราของเราแล้ว เช่นเดียวกับ Power BI ที่จะมีกระบวนการที่เรียกว่า "การนำไปใช้" (Load) ซึ่งกระบวนการ Extract,Transform และ Load นั้นจัดอยู่ในส่วนของ Power Query
4.การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (DARA MODELING : MIXED MATERIAL)
ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทุกๆด้านนั้นมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น รวมไปถึงด้านของอาหารที่มีเทคโนโลยีในการช่วยลดเวลาในการทำ
โดยบนแพลตฟอร์ม Power BI จะเรียกขั้นตอนนี้ว่า Data Modeling จะเป็นการนำข้อมูลจากแหล่งเดียวกันหรือหลากหลายที่มา มาเชื่อมโยงกัน เช่น ถ้าตารางข้อมูลใดมีความสัมพันธ์กัน และต้องวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน เราต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
5.เจาะขุมทรัพย์จากข้อมูลด้วยสูตรลับ (DAX : COOKING)
หลังจากผ่านขั้นการเตรียมทั้งหมดแล้ว ก็ถึงเวลาการจับทุกอย่างลงกระทะ แรกๆอาจจะยากแต่ก็ต้องใช้เวลาในการพัฒนาฝีมือต่อไป เช่นเดียวกับ Power BI หากเราเพิ่งเริ่มต้นเขียนสูตรอาจจะติดขัดอยู่บ้าง จึงต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝน ซึ่งภาษาในการเขียนสูตรจะเรียกว่า DAX (Data Analysis Expression)
เช่นเดียวกับด้านการจัดการข้อมูล โดยบนแพลตฟอร์ม Power BI จะเรียกขั้นตอนนี้ว่า Data Modeling จะเป็นการนำข้อมูลจากแหล่งเดียวกันหรือหลากหลายที่มา มาเชื่อมโยงกัน เช่น ถ้าตารางข้อมูลใดมีความสัมพันธ์กัน และต้องวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน เราต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
6.เล่าเรื่องให้น่าสนใจด้วยกราฟ (VISUALIZATION : MEAL DECORATION)
หลังจากปิดเตา ก็ถึงเวลานำกะเพราที่ได้มาเสิร์ฟลงจาน แต่หากเราทุ่มสุดตัวในการทำกะเพราจานนี้ก็คงอยากที่จะให้ไปอยู่ในจานที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม ดูดี และมีราคา
เช่นเดียวกับ Power BI หากเราค้นพบข้อมูลมากมายจาก Dataset แต่การนำเสนอนั้นไม่น่าสนใจและไม่สวยงาม อาจส่งผลให้ไม่มีผู้สนใจในข้อมูลของเราเลย อีกทั้งอาจส่งผลถึงโอกาสที่หายไป จะดีกว่าไหมหากทำให้ข้อมูลสำคัญนั้นเข้าใจง่าย สื่อสารชัดเจน สวยงาม และที่สำคัญต้องไม่เป็นภาระของสมองผู้ใช้งาน
7.แชร์รายงานให้ใครๆ ก็ได้ (SHARE REPORT : HAVE A MEAL)
หลังจากตรากตรำไปหาวัตถุดิบ ต่อด้วยการจัดเตรียมวัตถุให้พอ ผ่านการกระทบกระทะที่ไฟร้อนๆอยู่ข้างใต้ ก่อนที่จะถูกจัดลงจานที่ถูกจัดแต่งไว้อย่างสวยงาม ในที่สุดกะเพราของเราก็พร้อมที่จะถูกเสิร์ฟให้กับคนพิเศษของเราแล้ว
เช่นเดียวกับ Power BI เราสามารถแบ่งปันรายงานด้วย Power BI Service จะดีหรือไม่หากผู้ใช้งานไม่ต้องสละเวลาส่วนตัวมาเปิดคอมพิวเตอร์เพื่อดูรายงานของเรา ใช่แล้ว Power BI สามารถเปิดดูรายงานของเราได้จากโทรศัพท์มือถือรวมถึงแท็บเล็ต อีกทั้งยังสามารถอัพเตพข้อมูลตามเวลาที่เรากำหนดได้อีกด้วย
วิดีโอข้างล่างนี้เป็น How to เล็กๆที่กสามารถนำไปใช้ในการทำงานบน Power BI ได้
สุดท้ายนี้หากกำลังสนใจเรื่องของ Power BI ตอนนี้เรามีหนังสือที่อธิบายข้อมูลทั้งหมดของแพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลนี้มาให้แล้ว สามารถกดที่รูปแล้วเข้าไปเรียนกันได้เลย!