ปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเป็นกังวลไม่น้อย กับเรื่องลูกกินข้าวยาก ไม่รู้จะทำอย่างไรดี เพื่อให้ลูกกินข้าวปกติ ด้วยความเป็นพ่อแม่ก็เป็นห่วงลูก กลัวลูกจะไม่สบาย ก็ต้องทำทุกทางเพื่อให้ลูกกินข้าวอย่างปกติ และวันนี้แอดก็มีคู่มือรับมือเมื่อลูกไม่ยอมกินข้าว ให้กับคนพ่อคุณแม่มือใหม่เอาไว้ปรับใช้กับลูกน้อยที่บ้านเมื่อลูกไม่ยอมกินข้าว
ก่อนอื่นเลยเราต้องรู้ก่อนว่าลักษณะของเด็กที่กินข้าวยากมีอย่างไร หากลูกมีลักษณะคล้ายหรือเข้าข่ายจะได้รับมือทัน และแอดมินสามารถสรุปลักษณะของเด็ก ๆ ที่กินข้าวยากได้ประมาณ 4 ลักษณะ ดังนี้
1. น้ำหนักตัวลูกไม่ขึ้นตามเกณฑ์
2. ลูกเจ็บป่วยบ่อย
3. ใช้เวลาในการกินอาหารแต่ละมื้อเป็นเวลานาน
4. ลูกเลือกกิน กินเฉพาะสิ่งที่อยากกิน
หลังจากที่ทำความเข้าใจกับลักษณะของเด็กที่กินอาหารยากแล้ว เรามาดูต่อกันดีกว่าว่าอะไรเป็นสาเหตุของปัญหา ลูกกินอาหารยาก ซึ่งส่วนนี้แอดมินสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ คือ
1. น้ำหวาน นม ของว่างระหว่างมื้ออาหาร ที่เด็กอาจจะกินจนอิ่มและไม่ยอมกินข้าว ต้องบอกเลยว่าน้ำหวาน ของว่างระหว่างมื้อไม่สามารถทดแทนอาหารที่ลูกต้องกินแต่ละมื้อได้
2. ขนมขบเคี้ยว ขนมหวาน ของอร่อยที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจะไม่สร้างประโยชน์ให้แก่ร่างกายแล้วยังเป็นอาหารที่เรียกว่า Junk Food หรืออาหารขยะ ที่กินเข้าไปมีแต่โทษ
3. โทรทัศน์ สมาร์ทโฟน สิ่งของรบกวน ความสนใจต่าง ๆ ที่ดึงลูกเอาไว้แล้วไม่ไปกินข้าว นอกจากจะไม่ทำให้อิ่มแล้วยังส่งผลเสียต่อร่างกาย รวมถึงอาจเป็นสมาธิสั้นได้ และถ้าเป็นเด็กสมาธิสั้นคุณพ่อคุณแม่ก็ต้องมาบำบัดกันอีก
และเเอดมินก็มี 7 หัวใจหลักที่จะมาช่วยรับมือลูกกินยาก ให้คุณพ่อคุณแม่รวมถึงผู้ปกครองทุกท่าน ได้ทำความเข้าใจและนำไปปรับใช้ได้หากลูกกินอาหารยาก
1. ปรับทัศนคติการกิน ให้ลูก ด้วยวาจาสุภาพ ไม่ดุ ไม่ตี และไม่บังคับ
2. งดขนมระหว่างมื้อ ซึ่งอาจจะกำหนดไว้ว่ากินขนมระหว่างม้อได้สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง หรืออาจจะให้กินอาหารก่อนแล้วค่อยกินขนม และต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันทั้งสองฝ่ายด้วยนะครับ
3. ฝึกให้ลูกกินอาหารให้ตรงเวลา เพราะร่างกายจะจดจำและทำให้ลูกหิวเป็นเวลาด้วยเช่นกัน
4. กำหนดเวลาเวลาให้ลูกต่อการกินอาหารในแต่ละมื้อ เเละเมื่อครบกำหนดเวลาให้ลูกเลิกกินทันที กินได้แค่ไหนแค่นั้น เพื่อให้ลูกได้ตระหนักถึงเวลาว่าควรใช้เวลาในการกินอาหารให้คุ้มค่า
5. คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองทุกท่านเองก็ต้องสร้างสรรค์เมนูใหม่ ๆ น่ากิน มีประโยชน์ ให้ลูกกินเช่นกัน ไม่ใช่ทำแต่อาหารเดิม ๆ ให้ลูกกิน เพราะไม่แปลกที่ลูกจะกินยากหากได้กินแต่อาหารเดิม ๆ
6. ขณะกินอาหารควรปิดโทรทัศน์ เก็บของเล่นให้พ้นมือเด็ก เพื่อให้เด็กได้ตั้งใจกินอาหาร
7. พาลูกออกไปวิ่งเล่น หรือออกกำลังกายนอกบ้านบ้าง เพื่อเผาผลาญพลังงานในร่างกายและฝึกใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ เป็นต้น
เป็นอย่างไรกันบ้างครับทุกท่าน ลูกคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนเข้าข่ายเป็นเด็กกินอาหารยากบ้างหรือเปล่าครับ หากเป็นสามารถนำวิธีของทางเราไปปรับปรับใช้ได้นะครับ
และถ้าหากทุกท่านสนใจหนังสือเสริมพัฒนาการให้ลูกของท่าน คลิกเลย
Tel. : 0847003219
Facebook : https://www.facebook.com/serazuonline/
Line@ : @serazu
Website: www.serazu.com
E-mail : cc@serazu.com