Promotion
6 เทคนิคฝึกลูกน้อยอ่านหนังสือ


การอ่านถือเป็นพื้นฐานของการพูด และการเขียน ยิ่งอ่านมากยิ่งได้เปิดโลกทรรศน์มาก และยิ่งอ่านมากเราจะยิ่งมีคลังคำศัพท์มากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามเด็กที่ได้ปลูกฝังนิสัย
รักการอ่านตั้งแต่เด็กเขาจะเป็นคนรักการอ่านในตอนโตด้วย ไปดูวิธีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยส่งเสริมให้ลูกรักการอ่าน เพราะลูกจะฉลาดเริ่มต้นที่ความใส่ใจของพ่อและแม่

1. อ่านหนังสือเล่มเดิมซ้ำหลายครั้ง


การสอนลูกอ่านหนังสือเล่มเดิมซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีที่ได้ผลดีกับเด็กชั้นนประถมต้น เพราะจะช่วยพัฒนาการเรียนวิชาภาษาไทยที่ได้ผลเป็นอย่างดี รวมทั้งเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้เขียนได้มากกว่าการอ่านหนังสือเพียงครั้งหรือสองครั้ง หนังสือจะต้องไม่หน้าเบื่อควรมีลูกเล่นต่างๆเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกอย่าง หนังสือบอร์ดบุ๊ค

  • ยิ่งอ่านซ้ำมากเท่าไหร่ เด็กจะรับรู้ถึงความรู้สึกนึกคิดของตัวเอกของเรื่องที่ผู้เขียนต้องการสื่อ
  • ทำให้เด็กได้จดจำถ้อยคำ สำนวนต่างๆ ในเล่มได้ขึ้นใจ
  • เมื่ออ่านหนังสือได้แตกฉานก็จะเป็นกุญแจสำคัญในการเสริมสร้างทักษะด้านภาษาให้กับเด็กอีกด้วย

2. เลือกหนังสือที่เหมาะกับวัยของลูก


คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ถือตัวเองเป็นใหญ่ เช่น เลือกหนังสือตามใจพ่อแม่ เพราะวัยของลูกไม่ใช่วัยของพ่อแม่ หนังสือที่พ่อแม่ชอบลูกอาจจะไม่ชอบก็ได้

  • หนังสือที่ดีสำหรับลูกต้องมีเนื้อหาที่สั้นๆ ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ตรงไปตรงมา
  • หนังสือที่ดีต้องน่าคิด น่าติดตาม
  • หนังสือที่มีภาษาที่อ่านง่าย ภาพประกอบสวยงาม
  • หนังสือที่ช่วยกระตุ้นความคิด และเสริมพัฒนาความคิดให้กับลูก

ตัวอย่าง หนังสือ คึกคักวุ่นวาย สัตว์เลี้ยงแสนรู้

เป็นหนังสือแบบมีกลไกดึง หมุน ดัน เลื่อน เพื่อให้เด็กๆ ได้ฝึกใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และเพิ่มความสนุกสนานระหว่างเล่าเรื่อง

3. ต้องใส่ใจชวนกันไปอ่าน


คุณพ่อคุณแม่ต้องชี้ชวน หรือเชิญชวนให้ลูกมาอ่านหนังสือด้วยกัน การชักชวนที่ดีที่สุดคือ การที่พ่อแม่อ่านออกเสียงดังๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือชักชวนลูกให้มาเปิดหนังสือร่วมกันชี้ชวนพูดคุยชวนคุยถึงภาพในหนังสือ

4. รู้จักสอนให้ลูกต่อยอดทางความคิด


เวลาคุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือ หรือนิทานให้ลูกฟังต้องตั้งคำถาม และเปิดโอกาสให้ลูกได้แสดงความคิดอยู่เสมอ เช่น ไก่มีกี่ตา นับสิลูก แล้วหนูมีกี่ตาลูก เอ้ามีตาเท่ากับไก่เลย เป็นต้น นี่จึงถือเป็นการต่อยอดทางความคิดขณะเล่านิทาน เจอช่องไฟตรงไหนที่เหมาะสมให้รีบต่อยอดทันที แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ควรมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกเบื่อได้ ควรเลือกหนังสือในหมวด ทัษะสมอง EF เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ

ตัวอย่าง หนังสือ ตูบน้อยรู้จักวางแผน


นิทานภาพแสนสนุกของเจ้าตูบน้อย ที่จะทำให้เด็กๆได้เรียนรู้และเข้าใจคำว่า "วางแผน" เป็นทักษะอย่างหนึ่งของ Executive Functions (EF) คือ การวางแผน จัดระบบดำเนินการ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับเด็กๆ

5. เอาใจใส่ลูกอย่างสม่ำเสมอ


การอ่านหนังสือต้องทำทุกวัน หรือทำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะอ่านหนังสือร่วมกันหลังจากรับประทานอาหาร ปิดโทรทัศน์ตอน 1 ทุ่ม แล้วอ่านหนังสือร่วมกัน หรืออ่านหนังสือก่อนนอนทุกวัน ดังนั้นถ้าทำเป็นประจำ ลูกจะเกิดความเคยชิน และปฏิบัติจนติดเป็นนิสัย มีวินัย ใส่ใจการอ่าน ไม่นานเห็นผลแน่นอนค่ะ

6. ฝึกให้ลูกเขียนแสดงความคิดเห็น


นอกจากการอ่านแล้ว การฝึกให้ลูกเขียนแสดงความคิดเห็นก็เป็นการฝึกลูกให้รู้จักการอ่านที่ถูกวิธีอีกทางหนึ่ง เพราะจะทำให้ลูกอ่านอย่างเข้าใจและรับรู้ถึงสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อมากกว่าการอ่านไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้คิดและวิเคราะห์ตาม วิธีการสอนให้เขาเขียนแสดงความคิดเห็น เช่น ให้ลูกอ่านหนังสือหนึ่งเล่ม แล้วเขียนแสดงความคิดเห็นในระยะเวลาที่กำหนด หรือให้ดูหนังจนจบ แล้วให้เขียนสิ่งที่เขาได้รับและประทับใจเป็นต้น

แนะนำ หนังสือ แบบฝึกบูรณาการทักษะ เรื่อง ตัวเราและบ้านของเรา



เหมาะสำหรับ อายุ 3 ปีขึ้นไป ระดับ อ.1-อ.3 แบบฝึกเริ่มจากง่ายไปหายาก มีสรุปเนื้อหาสั้นๆ อธิบายให้เด็กเข้าใจก่อนทำแบบฝึก แบบฝึกไม่มากและน้อยจนเกินไปเหมาะกับสมาธิของเด็ก และมีตารางบันทึกพัฒนาการเพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ติดตามพัฒนาการเด็กได้อย่างต่อเนื่อง

ข้อแนะนำคือ เราไม่ควรยัดเยียดหรือบังคับลูกอ่านสิ่งที่ไม่ชอบเพราะลูกอาจจะเครียด และเกลียดหนังสือไปเลยก็ได้ ดังนั้นขอให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจหลัก และเรียนรู้เทคนิคการสอนลูกอ่านหนังสือตามคำแนะนำข้างต้น แล้วไปปรับใช้กับลูกๆ ที่บ้าน รับรองว่าการสร้างลูกรักให้เป็นนักอ่านที่มีคุณภาพไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.parentsone.com
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
Tel. : 0847003219
Line@ : @serazu
Website: www.serazu.com
E-mail : cc@serazu.com

สินค้าที่เกี่ยวข้อง
ตูบน้อยรู้จักวางแผน
฿67.50
-10.00%
฿75
สินค้าแนะนำ
ตูบน้อยรู้จักวางแผน
฿67.50
-10.00%
฿75